Saturday, August 22, 2020

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3


 บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3

EAED2112 
การจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันอังคาร ที่ 18 เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2563
เวลา 08.30-12.30 น.
    เนื้อหาที่เรียน
เด็กปฐมวัย VS การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ?
- วิทยาศาสตร์เป็นยาขมสำหรับเด็กๆ จริงหรือ ?
ไม่เป็นยาขม เพราะต้องเลือกแบบให้สอดคล้องกับพัฒนาการเรียนรู้และเลือกให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย
- ถ้าเด็ก ๆ เรียนวิทยาศาสตร์ตั้งแต่อนุบาลจะยากเกินไปไหม ?
- ควรจะให้เด็ก ๆ อนุบาลเรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างไร 
    วิทยาศาสตร์ = อยู่รอบตัว / ใกล้ตัว (สิ่งที่สามารถเรียนรู้ได้) 
ความอยากรู้ อยากเห็น = ความสามารถของเด็กในการที่เด็กทำได้
ในช่วงของอายุ (พัฒนาการ)
ลักษณะพัฒนาการ = มีการเปลี่ยนแปลงไปตามลักษณะอย่างต่อเนื่อง (พฤติกรรม)
เล่น = เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ลงมือกระทำกับวัตถุหรือเหตุการณ์ ทั้งที่มีอิสระเลือกหรือตัดสินใจด้วยตัวเองหรือครูจัดให้อย่างมีความสุข สนุกสนาน
การเรียนรู้ = เด็กต้องมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงออกไปจากเดิม
ความเข้าใจ = พูดออกมา เขียนออกมา ที่สามารถวัดได้ = การเรียนรู้ 

ประเมินอาจารย์ ตนเอง เพื่อน
    ประเมินอาจารย์
        อาจารย์มาก่อนเวลาเรียน ถ่ายทอดความรู้ให้หนูเข้าใจมากยิ่งขึ้น
    ประเมินตนเอง
        มาเรียนก่อนเวลา ตั้งใจเรียน มีการโต้ตอบกับอาจารย์
    ประเมินเพื่อน
        เพื่อนๆตั้งใจเรียนกันทุกคน มีความสุขสนานที่ได้เรียนวิชานี้

คำศัพท์
Development = พัฒนาการ
Understanding = ความเข้าใจ
Curiosity = ความอยากรู้
Play = การเล่น
Look = ลักษณะ

Monday, August 17, 2020

คลิปการสอนวิทยาศาสตร์

 

คลิปการสอนวิทยาศาสตร์


วิธีจัดกิจกรรม STEM เด็กปฐมวัย "ขวดน้ำพุ"



          อุปกรณ์

    1.ขวดน้ำที่เจาะรู

    2.กระดาษกาว                                                                                                                                     

    3.กรวย

    4.น้ำ

    5.สีผสมอาหาร




 

          หัวใจสำคัญ

    1.การสร้างขวดน้ำพุ

        ให้เด็กๆนำขวดที่เจาะรูแล้วมาติดกระดาษกาวใส่สีผสมอาหารลงในน้ำ กรอกน้ำใส่ขวด ทดลองแกะกระดาษกาวออกที่ละจุด ให้เด็กๆชัดเกตการไหลของน้ำ

    2.ทำอย่างไรให้น้ำพุพุ่งแรง ๆ

        เปิดโอกาศให้เด็กได้สร้างสรรค์

            1.เป่า

            2.เขย่า

            3.บีบ

                จากกิจกรรมนี้เด็กจะได้แก้ปัญหาเชื่อมโยงความรู้วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ด้วยกระบวนการทางวิศวะกรรมศาสตร์ให้เกิดการเรียนรู้ใหม่เป็น STEM


ที่มาของคลิป https://www.youtube.com/watch?v=FO6nwjx_Jgc

คลิปการสอนคณิตศาสตร์


 คลิปการสอนคณิตศาสตร์

เรื่อง คณิตศาสตร์แสนสนุก

ครูให้เด็กๆดูเมล็ดของถั่วเขียว แล้วให้ดูลักษณะการปลูกต้นถั่วเขียวและปริมาณของเมล็ดถั่วเขียวที่จะนำไปปลูก แล้วให้เด็กๆนับจำนวนภาชนะที่ใส่เมล็อถั่วเขียวว่าภาชนะอันไหนใส่เมล็ดถั่วเขียนได้มากที่สุดเด็กได้รู้จักปริมาณที่ใส่เมล็ดถั่วเขียวของภาชนะแต่ละชนิด


ที่มาของคลิป https://www.youtube.com/watch?v=t1KJSV4TXXs

งานวิจัย วิทยาศาสตร์


การพัฒนากิจกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้สมอง

เป็นฐานที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 

โรงเรียนบ้านวังหันน้ำดึง อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร


       การวิจัยครั้งนี้ใช้แนวคิดในการดำเนินการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) 2 ขั้นตอน คือ 
ขั้นตอนที่ 1 การวิจัย (Research: R) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของกิจกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ แบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้สมองเป็นฐานที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาล ปีที่1
ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนา (Development: D) เพื่อใช้และศึกษาผลการใช้กิจกรรมการจัดประสบการณ์การ เรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้สมองเป็นฐานที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยชั้น อนุบาลปีที่ 1  โดย 
2.1) เปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ก่อนและหลังการใช้กิจกรรม 
2.2) ศึกษาจิต วิทยาศาสตร์หลังได้รับการจัดกิจกรรม 
2.3) ศึกษาระดับความสุขในการเรียนรู้หลังการใช้กิจกรรมกลุ่มตัวอย่างที่ ใช้ในการวิจัยคือเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่1 ภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา2557 จำนวน 14 คน โรงเรียนบ้านวังหันน้ำดึง อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชรเขต 2 ซึ่งได้มา โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่
1) กิจกรรมการจัดประสบการณ์ การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน
2) แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
3) แบบประเมินจิตวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่มีต่อกิจกรรม 
4) แบบวัดระดับความสุขในการเรียนรู้ของเด็ก ปฐมวัยที่มีต่อกิจกรรมวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย 
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) สถิติการทดสอบ t-test Dependent Sample ผลการวิจัยพบว่า 
1)กิจกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้สมองเป็น ฐานที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่1 มีความเหมาะสมในระดับมากและ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.29/84.00 
2) ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขอเด็กปฐมวัยหลังเรียนสูงกว่าก่อน เรียนด้วยกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 
3) จิตวิทยาศาสตร์หลังได้รับการจัดกิจกรรมของเด็ก ปฐมวัยอยู่ในระดับมาก
4)ระดับความสุขในการเรียนรู้หลังได้รับการจัดกิจกรรมของเด็กปฐมวัยอยู่ในระดับมาก กิจกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน/ทักษะกระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์/จิตวิทยาศาสตร์/ความสุขในการเรียนรู้ 

งานวิจัย คณิตศาสตร์

 

งานวิจัย เรื่องการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้นิทาน


              ทักษะคณิตศาสตร์มีความสําาคัญยิ่งต่อการพัฒนาความคิดของมนุษย์ทําาให้มนุษย์มีความคิดสร้างสรรค์ คิดอย่างมีเหตุผล จึงมีการส่งเสริมทักษะคณิตศาสตร์ให้กับเด็กตั้งแต่ระดับปฐมวัย การวิจัยปฏิบัติการรูปแบบ วงจรลําาดับเวลาเป็นรูปแบบที่มีขั้นตอนการปฏิบัติ 8 ขั้นตอน มีหลักการสําาคัญ คือ หลังจากระบุปัญหาที่ต้องการ แก้ไขแล้วจะประเมินความต้องการจําาเป็นของกลุ่มเป้าหมายเพื่อวางแผนในการแก้ไขปัญหาตามลําาดับเวลาไปที ละวงรอบ ผู้วิจัยจึงนําามาใช้ในการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 1 การวิจัยมีความมุ่งหมายดังนี้ เพื่อศึกษาผลการเรียนคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้นิทานคณิตศาสตร์ ตามกระบวนการวิจัยปฏิบัติการวงจรลําาดับเวลา กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 โรงเรียนอนุบาลวิศิษฐ์อําานวยศิลป์ อําาเภอบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ สังกัดสําานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม ศึกษาหนองคายเขต 3 ปีการศึกษา 2553 จําานวน 35 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling Selection) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย (1) แบบประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ เด็กปฐมวัย

 (2) แบบประเมินความต้องการจําาเป็นเรียนรู้ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย

(3) ชุดประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย 

(4) แผนการจัดประสบการณ์ จําานวน 18 แผน

(5) แบบประเมินวัดความก้าวหน้าทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย 

(6) แบบสัมภาษณ์นักเรียนและ

(7) แบบบันทึกผลการใช้แผนการจัดประสบการณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย พบว่า การพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์โดยใช้นิทานคณิตศาสตร์ตามกระบวนการวิจัยปฏิบัติการ ในวงรอบที่ 1 ทําาให้นักเรียนส่วนใหญ่มีพัฒนาการในเรื่องการนับ การรู้ค่าตัวเลขและการจับคู่ อยู่ในระดับดีถึงดี มากผลเป็นที่น่าพอใจ จากนั้นผู้วิจัยได้ทําาการพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์ในวงรอบที่ 2 โดยพัฒนาเรื่องการเปรียบ เทียบและการเรียงลําาดับซึ่งนักเรียนส่วนใหญ่มีพัฒนาการอยู่ในระดับดีถึงดีมาก

โดยสรุป กระบวนการวิจัยปฏิบัติการวงจรลําาดับเวลาสามารถพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์ของนักเรียน ระดับปฐมวัยได้ ซึ่งเป็นแนวทางให้ครูสามารถนําากระบวนการวิจัยปฏิบัติการรูปแบบวงจรลําาดับเวลานี้ ไปใช้ใน การเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์ระดับปฐมวัยให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

Saturday, August 15, 2020

บทความเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


 บทความเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

เรื่อง การทดลองทางวิทยาศาสตร์ (Science experiments)

ผู้เขียน: อาจารย์ นิติธร ปิลวาสน์ ศึกษานิเทศก์


    

            รูปแบบการจัดกิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยจึงคำนึงถึงพัฒนาและธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็ก โดยเฉพาะวุฒิภาวะ ความพร้อม และการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความสามารถ ทางสมองของเด็ก เป็นสิ่งที่มีความสำคัญที่ควรนำมาพิจารณาเป็นอันดับแรก สำหรับทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์หรือทักษะกระ บวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นความสามารถในการปฏิบัติและฝึกฝนกระบวนการคิดในการแสวงหาความรู้ ตลอดจนการแก้ ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างคล่องแคล่วชำนาญ

    ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ (Basic Science skills) ที่ควรฝึกฝนให้เกิดกับเด็กปฐมวัย

สามารถแยกได้เป็น 6 ประเภทดังนี้

1. ทักษะการสังเกต (Observing)

2. ทักษะการวัด (Measuring)

3. ทักษะการจำแนกประเภท (Classifying)

4. ทักษะการลงความเห็น (Inferring)

5. ทักษะการพยากรณ์ (Predicting)

6. ทักษะการสื่อสาร (Communicating)

การจัดกิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 

    สามารถบูรณาการกิจกรรมทดลองไว้ในกิจกรรมตามตารางกิจกรรมประจำวันสำหรับเด็กปฐมวัย เช่น เสริมประสบการณ์หรือกิจกรรมในวงกลม กิจกรรมสร้างสรรค์ เนื้อหาที่นำมาทด ลองจะยึดหน่วยหรือหัวเรื่องที่เด็กเรียนรู้เป็นหลัก เช่น

การเรียนรู้ หน่วยน้ำ 

           ครูจัดกิจกรรมการทดลองวิธีการกรองน้ำให้สะอาด เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้มโนทัศน์เกี่ยวกับเรื่องวิธีการทำให้น้ำสะอาด จากการทดลองวิธีการกรองน้ำ ครูอาจจัดวัสดุอุปกรณ์ต่างๆเพื่อให้เด็กได้เลือกและค้นหาวิธีการที่เหมาะสมในการกรองน้ำ

การเรียนรู้ หน่วยผลไม้ 

          ครูอาจจัดกิจกรรมทดลองเพื่อพิสูจน์เกี่ยวกับส่วนประกอบของผลไม้ว่า ผลไม้แต่ละชนิดมีส่วน ประกอบเหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไร โดยครูแบ่งกลุ่มเพื่อให้เด็กทดลองเป็นกลุ่ม และมีการเปรียบเทียบผลการพิสูจน์ของแต่ละกลุ่มได้

พ่อแม่ ผู้ปกครองจะจัดกิจกรรมให้ลูกทดลองทางวิทยาศาสตร์อย่างไร?

    ขั้นที่ 1 พ่อแม่ควรสังเกตความสนใจของลูก ว่าลูกมีความสนใจสิ่งแวดล้อมรอบตัวในเรื่องใดบ้าง ซึ่งสามารถพบได้จากการคำพูด การสนทนาในชีวิตประจำวันของลูกกับพ่อแม่

    ขั้นที่ 2 สร้างเสริมประสบการณ์ในเรื่องที่ลูกสนใจ โดยบูรณาการทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ในเรื่องนั้นๆ

    ขั้นที่ 3 พ่อแม่ควรสรุปความรู้หรือความคิดรวบยอด หลังจากที่เด็กได้ทดลองหรือสืบค้นข้อมูลเพียงพอแล้ว เช่น การอธิบายให้ลูกเข้าใจเกี่ยวกับการเจริญเติบโตของพืชจากองค์ประกอบของการดูแลที่แตกต่างกัน 

 ประโยชน์ของการทดลอง

- ส่งเสริมให้เด็กได้พัฒนาความสามารถในการค้นคว้า สืบสอบสิ่งต่างๆ

- ส่งเสริมให้เด็กได้รับการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริง เช่น ทักษะการสังเกต  ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการสื่อสาร ทักษะการลงความเห็น ทักษะการวัด 

- ช่วยตอบสนองต่อธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย โดยเฉพาะความอยากรู้อยากเห็นของเด็ก เจตคติต่อวิทยา ศาสตร์ และการเรียนรู้ด้วยการค้นพบ 

- ช่วยให้เด็กเข้าใจวิธีการทำงานอย่างนักวิทยาศาสตร์ที่มีความสัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน และการสืบค้นของตัวเด็ก

- ส่งเสริมให้เด็กมีความรู้เกี่ยวกับตนเอง และสิ่งต่างๆรอบตัวมากขึ้น

- ส่งเสริมให้เด็กมีทักษะในการแก้ปัญหา 

- ส่งเสริมให้เด็กพัฒนาความคิดอย่างมีเหตุผล อย่างมีระบบตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์

- ส่งเสริมให้เด็กมีความรู้เกี่ยวกับตนเอง และสิ่งต่างๆรอบตัวมากขึ้น

- ส่งเสริมให้เด็กมีความรับผิดชอบในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

- ส่งเสริมให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ เป็นการเตรียมความพร้อมในการเรียนวิทยาศาสตร์ในระดับประถมศึกษา

- ส่งเสริมให้เด็กเป็นคนกล้าพูด กล้าทำ กล้าแสดงความคิดเห็น ส่งเสริมให้เด็กเป็นคนที่มีจิตใจมั่นคง ไม่เชื่อต่อคำบอกเล่าของคนอื่นง่ายๆ จนกว่าจะพิสูจน์ให้เห็นจริง

- ส่งเสริมให้เด็กเป็นคนมีจิตใจกว้างขวาง ยอมรับความคิดเห็นของคนอื่น

- ส่งเสริมให้เด็กสามารถทำงานเป็นกลุ่มได้ รู้จักการเป็นผู้นำ ผู้ตาม รู้จักรอคอย แบ่งปันสิ่งของเครื่องใช้ ตลอดจนการช่วยเหลือทำงานร่วมกัน

- ส่งเสริมให้เด็กลดความกลัวต่อสิ่งต่างๆ เช่น กลัวความมืด กลัวเสียงฟ้าร้อง เป็นต้น

- ส่งเสริมให้เด็กมีทักษะในการใช้อวัยวะต่างๆของร่างกายในการทำงาน อีกทั้งทักษะในการใช้เครื่องมือในการทำงานต่างๆอีกด้วย

บทความเกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

บทความเกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
                    
บทความ พัตนาการคณิตศาสตร์ของเด็กแต่ละช่วงอายุ 
โดย The Asinparent Editorial Team
เลขสำหรับเด็กช่วง 1-2 ปี
    สามารถกระตุ้นได้โดยการสอนให้รู้จักตัวเลขและนับเลขจาก 1 - 10 ให้ฟัง เด็กๆส่วนมากสามารถเรียงลำดับค่าตัวเลขน้อยไปหามากได้ นอกเหนือจากตัวเลขแล้วเรื่องรูปร่างสิ่งต่างๆ รอบตัวและจดจำรูปร่างพื้นฐานอย่าง วงกลม สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม และสี่เหลี่ยมได้     อย่าให้แค่จดจำได้ แต่กระตุ้นให้ลูกได้นับสิ่งต่างๆ รอบๆตัวด้วย จำไว้ว่าการฝึกซ้อมและทำซ้ำๆ บ่อยๆ เป็นกุญแจสำคัญในพัฒนาการด้านคณิตศาสตร์ของเด็กในวัยนี้
คณิตศาสตร์กับเด็กช่วง 3-4 ปี
    ในวัยนี้ เด็กหลายๆคนจะเริ่มลองเขียน รวมถึงการเขียนตัวเลขในรูปของแบบฝึกหัดนับเลขตามลำดับและเขียนวันที่ด้วย เมื่อเด็กมีพัฒนาการทางคณิตศาสตร์ เด็กก็รับรู้ว่าสามารถใช้ร่างกายของตัวเองช่วยได้ ดังนั้นลูกก็จะนับจาก 0 - 10 ได้โดยใช้นิ้วมือด้วยตัวเอง เด็กบางคนนับไปได้ถึง 100 ก็มี พัฒนาการทางคณิตศาสตร์ของเด็กจะก้าวหน้าไปอีกโดยที่เด็กหลายๆ คนสามารถเปรียบเทียบปริมาณ ขนาด ความยาว น้ำหนัก และกระทั่งความเร็ว และบอกเวลาจากนาฬิกาได้ด้วย
คณิตศาสตร์กับเด็กอายุ 5-6 ปี
    วัยนี้เป็นช่วงพัฒนาการที่สำคัญ ลูกควรสามารถบวกลบเลขง่าย ๆ ที่มีผลรวมไม่เกิน 10 เช่น 1+9, 4+6, 8+2 เด็กควรสามารถแยกแยะเลขคู่ เลขคี่ได้และนับเลขคู่คี่ตามลำดับได้ เช่น การนับเลขคู่ก็ต้องนับว่า 2, 4, 6, 8 และเลขคี่ก็จะนับว่า 3, 5, 7 เป็นต้น เด็กบางคนที่ได้ฝึกฝนเพิ่มเติมมากกว่านี้ทั้งที่โรงเรียนและที่บ้านก็ควรสามารถท่องสูตรคูณแม่ 1 ถึง แม่ 5 ได้ เด็กในวัยนี้ควรสามารถบอกเวลาจากนาฬิกาได้และนับเงินได้อย่างคล่องแคล่ว 
                                            

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2
EAED2112 
การจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันอังคาร ที่ 11 เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2563
เวลา 08.30-12.30 น.
              เนื้อหาที่เรียน
    อาจารย์ได้สั่งงานให้สุปบทความวิทยาศาสตร์ บทความคณิตศาสตร์ วิจัยวิทยาศาสตร์           วิจัยคณิตศาสตร์ วีดีโอการสอนวิทยาศาสตร์ และวีดีโอการสอนคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัย   และอาจารย์ให้ถ่ายรูปกลุ่มโพสต์ลง Padlet เพื่อเป็นการเช็คชื่อเข้าเรียน
ประเมินอาจารย์ ตนเอง เพื่อน
ประเมินอาจารย์
    อาจารย์ได้มอบหมายงานอย่างละเอียด เข้าใจง่าย
ประเมินตนเอง
    เข้าเรียนตรงเวลา หางานที่อาจารย์สั่งครบถ้วน
ประเมินเพื่อน
    เพื่อนๆ ทำงานที่อาจารย์สั่งได้อย่างดี เข้าเรียนทุกคน

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1
EAED2112 
การจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันอังคาร ที่ 4 เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2563
เวลา 08.30-12.30 น.
           เนื้อหาที่เรียน
    เป็นการแรกวันแรกและได้พบกับอาจารย์ประจำวิชา อาจารย์ให้คำแนะนำตัวเองผ่านกระดาษ ไม่ให้เขียนชื่อแต่ให้บอกลักษณะเด่นของตัวเองลงไปแล้วสลับกับเพื่อนๆ แล้วเดาว่าลักษณะเด่นแบบนี้คือใคร ? อาจารย์ได้อธิบายเกี่ยวกับเนื้อหาวิชาและสิ่งที่ต้องปฏิบัติในรายวิชานี้ ข้อตกลงในการเรียน อาจารย์ให้ทำ My Mapping เรื่อง การจัดกิจกรรมทางวืทยาสาสตร์และคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยให้ใช้ความรู้ของตัวเองเท่าที่รู้ไม่ต้องเปิดอินเทอร์เน็ตใดๆๆทั้งสิ้นแล้วโพสต์งานลงใน และอาจารย์ให้จับกลุ่ม



ประเมินอาจารย์ ตนเอง เพื่อน
    ประเมินอาจารย์
        อาจารย์เป็นคนน่ารัก อาจารย์มีความทันสมัย สร้างบรรยากาศในห้องเรียนได้น่าเรียนมากขึ้น
    ประเมินตนเอง
        แต่งกายถูกระเบียบเรียบร้อย ตั้งใจเรียน เข้าเรียนก่อนเวลา
    ประเมินเพื่อน
        เพื่อนๆตั้งใจเรียนกันทุกคน ให้ความร่วมในการทำงานที่อาจารย์สั่งเป็นอย่างดี
    
        อาจารย์ได้มอบหมายงานให้แก่นักศึกษา ดังนี้
- ให้นักศึกษาสร้าง Blogger
- อาจารย์ให้นักศึกษาบันทึกคำศัพท์ภาษาอังกฤษสัปดาห์ละ 5 คำ

คำศัพท์
Science = วิทยาศาสตร์
Mathematics = คณิตศาสตร์
Skill = ทักษะ
Learning = การเรียนรู้
Present = นำเสนอ